ความหมายของการประเมิน

การประเมินคุณภาพภายใน   ( Internal Quality Assessment)
หมายถึง การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตามและการตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนดสำหรับการ ประกันคุณภาพภายในซึ่งกระทำ  โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้น หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา


การประเมินคุณภาพภายนอก ( External Quality Assessment)
หมายถึง  การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตามและการตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งกระทำ โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน) หรือผู้ประเมินภายนอก

 การประเมินแบบกัลยาณมิตร (Amicable Assessment)
หมายถึง การประเมินคุณภาพตามปรัชญาและแนวปฏิบัติการประเมิน เพื่อเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพที่เป็นกระบวนการสัมพันธ์เชื่อมโยงของสรรพสิ่ง และถักทอความร่วมใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา  ให้เข้าใจและเข้าถึงความจริงเชิงคุณค่าแบบองค์รวมด้วยความเป็นกลาง โดยใช้หลักกัลยาณมิตรธรรมเป็นพื้นฐานในการประเมิน  เพื่อพัฒนาผู้เรียนและคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่1 ส่งเสริมและพัฒนา   ขั้นที่ 2  สร้างความศรัทธาต่อผู้ประเมิน ขั้นที่ 3 เพียรประเมินอย่างกัลยาณมิตร และขั้นที่ 4 ชี้ทิศทางและเสริมแรงพัฒนา
ในส่วนของการประเมินอย่างกัลยาณมิตร  ผู้ประเมินพึงใช้หลักธรรมเพื่อสร้างความศรัทธา ความไว้วางใจและความเป็นมิตร ตามกัลยาณมิตรธรรม 7  ดังนี้ 
1 ปิโย : น่ารัก เป็นที่สบายใจ และสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าปรึกษาไต่ถาม
2 ครุ :  น่าเคารพ ประพฤติตนสมควรแก่ฐานะ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งและรู้สึกปลอดภัย
3 ภาวนีโย : น่ายกย่อง มีความรู้และภูปัญญาแท้จริง เป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
4 วตตาจ : รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าว  ตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
5 วจนกฺขโม  : อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม คำเสนอแนะ วิพากษ์ วิจารณ์ อดทนฟังได้ ไม่เบื่อ ไม่แสดงอารมณ์ฉุนเฉียว
6  คมฺภีรญจ กถํ กตฺตา : สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้
7  โน จฏฐาเน นิโยชเย : ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย