ระบบการประกันคุณภาพ

ระบบการประกันคุณภาพ (Quality Assurance System) หมายถึง ระบบที่ก่อให้เกิด ผลดี ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ในวงการศึกษาได้ดัดแปลง ระบบการประกันคุณภาพมาใช้เพื่อประกันคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เช่น
- ระบบ ISO (International Standardization and Organization) เป็นมาตรฐาน ระบบคุณภาพที่มีการเน้นในหลักการ เป้าหมายและจุดประสงค์ สามารถใช้เป็นเครื่องมือใน การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต หรืองานบริการที่รวมการประกันคุณภาพและการ ควบคุมคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ของผู้บริการเป็นไปตามความต้องการ ทางคุณภาพของลูกค้า
- ระบบ TQM (Total Quality Management) เป็นระบบที่ปรับปรุงการวางแผน การจัด องค์กร และทำความเข้าใจในกิจกรรมที่เกี่ยวกับแต่ละบุคคลในแต่ละระดับเพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพ ให้มีความยืดหยุ่นที่จะสามารถแข่งขันได้ประสิทธิภาพของการจัดองค์กรใน ระบบนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของทุกคนในการนำองค์กรไปสู่ เป้าหมาย
- ระบบ The Malcom-Baldrige National Quality Award เป็นแนวทางการตรวจสอบ คุณภาพองค์กรซึ่งแนวทางนี้อาจนำมาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพขององค์กรทางด้านการ
ศึกษา มีองประกอบ 7 ด้าน คือ
1. การเป็นผู้นำ
2. สารสนเทศและการวิเคราะห์
3. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์
4. การพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์
5. การบริหารกระบวนการผลิตบัณฑิต วิจัย และบริการวิชาการ
6. สัมฤทธิ์ผลทางวิชาการ
7. สัมฤทธิ์ผลในการผลิตบัณฑิต
- ระบบ CIPP (Context, Input, Process, Product) หมายถึง ระบบที่ใช้ในการประเมินตามด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง 4 ด้าน  คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านการดำเนินการ  และด้านการผลิต
-  ระบบ 5 ส เป็นระบบพื้นฐานประกอบด้วย สะสาง คือการค้นหาและกำจัดสิ่งที่ไม่ จำเป็น สะดวก คือให้จัดระเบียบเรียบร้อย ง่ายต่อการใช้งาน สะอาด คือ ทำความสะอาด อย่างละเอียดทั่วถึง สุขลักษณะ คือ รักษาสุขภาพอนามัยให้ถูกสุขลักษณะและรักษา มาตรฐาน สร้างนิสัย คือสร้างนิสัย/วินัยและปฏิบัติให้เกิดความเคยชินสม่ำเสมอ
  ระบบ SBM (School Based Management) หมายถึง การบริการจัดการที่สถาน ศึกษามีอำนาจอิสระในการดำเนินงาน โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาทำหน้าที่กำกับและ ส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นไปตามความต้องการและจำเป็นของสถานศึกษาเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของสถานศึกระบบประกันคุณภาพของแต่ละสถานศึกษาที่กำหนดขึ้นอาจจะ ผสมผสานวิธีการต่างๆ เข้าด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ปัจจัยผลผลิต (Output) ผลสัมฤทธิ์ (Outcome)